ชนิดของครีมกันแดด
 
 
1. CHEMICAL SUNSCREEN (SOLUBLE SUNSCREEN)
: ออกฤทธิ์โดยการดูดซับ (ABSORB AND FILTRATION) พลังงานรังสี UV ไว้ไม่ให้ทะลุผ่านผิวหนังไปทำลายเนื้อเยื่อต่างๆ แล้วเปลี่ยนพลังงานของ UV เป็น ความร้อนแล้วสลายไป ทาแล้วควรรอประมาณ 30 นาที ก่อนออกแดด)
ตัวอย่าง เช่น PABA (พาบ้า ) , SALICYLATES (ซาลิซาเลท) ,BENZOPHENONE (เบนโซฟีนอล) ANTHRANILATE (แอนทานิเลท) , SULFONIC ACID (ซัลโฟนิค แอซิด)

2 PHYSICAL SUNCREEN ( INSOLUBLE SUNCREEN, SUNBLOCKER )
: ยากันแดดในกลุ่มนี้เป็นสารทึบแสง จะออกฤทธิ์โดยการสะท้อน (REFLECT) รังสีที่ ตกกระทบผิวหนัง ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับ ขนาดของสารประกอบและความหนาของการทาครีมกันแดด
ตัวอย่าง เช่น TITANIUM DIOXIDE (ไททาเนียม ไดออกไซด์) , ZINC OXIDE (ZnO) (ซิงค์ออกไซด์)SUN PROTECTION FACTOR (SPF) และ SUN REFLECTION FACTOR (SRF)
SPF คือ ประสิทธิภาพของครีมกันแดดในการป้องกันรังสี UVB
SRF คือ ประสิทธิภาพของครีมกันแดดในการสะท้อนกลับของรังสี
การหาค่า SPF =
MED ของผิวที่ทาครีมกันแดด /MED ของผิวที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด
MED (Minimal Erythema Dose) คือ ปริมาณของ UV ที่น้อยที่สุดที่ก่อให้เกิดรอยแดง ในผิวปกติที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด หากยืนตากแดดในตอนกลางวัน ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงผิวจะปวดแสบปวดร้อน
นั่นคือ ถ้าผลิตภัณฑ์ที่มี SPF15 หมายถึง ถ้าทาผลิตภัณฑ์นั้นลงบนผิวหนังของใครก็ตาม ผิวคนนั้นจะทนพลังงานของรังสีแสงแดด ได้ 15 เท่าของผิวตัวเองที่ไม่ได้ทาครีมกันแดด การจะตัดสินใจว่าผิวของบุคคลหนึ่งควรจะใช้ค่า SPF เท่าใดนั้น ต้องมีการพิจารณาปัจจัยหลายอย่างเช่น สีผิว , ปริมาณของรังสีแสงแดดรวมทั้งสถานที่อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรเท่าใด โดยถ้าใกล้เส้นศูนย์สูตร / ฤดูร้อนในเวลาเที่ยงวันความเข้มของแสงแดดจะสูงสุด

 
สาว ๆ ที่รักผิวสวยฟังทางนี้ Minus Sun มีเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับดูแลผิวมาฝากกัน
  เรื่องของแสงแดด
 
  วิธีเตรียมผิวรับมือกับแสงแดด
 
  ควรใช้ครีมกันแดดตั้งแต่เด็กหรือไม่?